• This is slide 1 description. Go to Edit HTML and find this content. Replace it your own description.

  • This is slide 2 description. Go to Edit HTML and find this content. Replace it your own description.

  • This is slide 3 description. Go to Edit HTML and find this content. Replace it your own description.

วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

     อันดับที่ 1 อีโบลาไวรัส...ไวรัสอันตราย 
จากรายงานสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้ออีโบลา ในภูมิภาคแอฟริกาตะวันตกของเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2557 สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค พบผู้ป่วยในประเทศที่มีการระบาดวงกว้าง 3 ประเทศ ได้แก่ กินี ไลบีเรีย และเชียร์ราลีโอน (รวมสงสัย/น่าจะเป็น/ยืนยัน) สะสม 18,464 ราย เสียชีวิต 6,841 ราย และประเทศที่มีการระบาดในพื้นที่จำกัด ได้แก่ ไนจีเรีย เซเนกัล สหรัฐอเมริกา สเปน และมาลี พบผู้ป่วยสะสม 34 ราย เสียชีวิต 15 ราย  ทั้งนี้ประเทศไนจีเรีย เซเนกัล และสเปนได้รับการประกาศเป็นพื้นที่ปลอดโรคอีโบลาแล้ว สำหรับประเทศไทยนั้นก็ได้ดำเนินการตามมาตรการซึ่งสอดคล้องกับคำแนะนำตามประกาศขององค์การอนามัยโลกตามประกาศภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ (Public Health Emergency of International Concern: PHEIC




SENZE อุปกรณ์ช่วยสื่อสารผ่านสายตา
?SenzE : อุปกรณ์ช่วยสื่อสาร ผ่านสายตา - ฉลาดคิด?

วันพฤหัสบดี 9 พฤษภาคม 2556 เวลา 00:00 น.
จากข้อมูลขององค์การอัมพาตโลก (WSO) ระบุว่า ในปี 2554 มีคนเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดสมอง หรืออัมพาตทั่วโลกประมาณ 6.5 ล้านคน ซึ่งมากกว่าจำนวนผู้เสียชีวิตด้วยโรคเอดส์, วัณโรค และมาลาเรียรวมกัน

ขณะที่เมืองไทย ในปี 2552 พบคนไทยเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดสมอง สูงถึง 13,353 คน ในปี 2554 มีผู้ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง หรืออัมพาต จำนวน 751,350 คน และในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา พบว่าผู้ป่วยนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศ ด้วยโรคดังกล่าว เพิ่มขึ้น 2.45 เท่า และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผู้ป่วยอัมพาตส่วนใหญ่ไม่สามารถที่จะสื่อสารได้ด้วยการพูด และเขียน

SenzE จึงถูกพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยเหล่านี้สามารถสื่อสารได้สะดวกขึ้น

ปิยะศักดิ์ บุญคมรัตน์กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมดิเทค โซลูชั่น จำกัด เปิดเผยว่า อุปกรณ์ดังกล่าวใช้เทคโนโลยี อาย แทรกกิ้ง ซิสเต็ม (Eye Tracking System) ที่ใช้งานกับ ซอฟต์แวร์ภาษาไทย เครื่องแรกของโลก

พัฒนาด้วยเทคนิคโอเพ่น ซีวี (Open CV) และอิมเมจ โพรเซสซิ่ง (Image Processing)

หลักการทำงานของอุปกรณ์นี้คือ ใช้กล้องความละเอียดสูงตรวจจับการเคลื่อนไหวของดวงตาผู้ป่วย และใช้การกะพริบตา 2 ครั้ง แทนการออกคำสั่งเสมือนการกดเอ็นเทอร์ (Enter) ผู้ป่วยสามารถเลือกเมนูคำสั่งที่ต้องการ และพิมพ์ข้อความ เพื่อสื่อสารกับแพทย์ ญาติ และผู้ดูแลได้อย่างถูกต้อง ทันท่วงที และมีประสิทธิภาพ

อุปกรณ์  SenzE มีความปลอดภัย เพราะถูกออกแบบมาไม่ให้มีการยึดติดกับตัวผู้ป่วยเลย

ปัจจุบันผ่านการทดสอบประสิทธิภาพกับผู้ป่วยอัมพาต จำนวน 10 ราย ที่สถาบันประสาทวิทยา ภายใต้การควบคุมการทดสอบโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิด ซึ่งผลการทดสอบอยู่ในเกณฑ์ที่ดี

ปิยะศักดิ์ บอกว่า จากต้นแบบที่เคยได้รับรางวัลชนะเลิศ โครงการนวัตกรรมวาณิชย์ ภาคค้นหา Thai IT Tycoon 2012 ของกระทรวงไอซีที และซิป้า และรางวัลรองชนะเลิศ True Innovation Awards 2012 ประเภท Inno Tree

ปัจจุบันมีการต่อยอดจนสามารถผลิตและพร้อมออกสู่ตลาดเชิงพาณิชย์

โดยตลาดเป้าหมาย คือ โรงพยาบาลทั้งของรัฐและเอกชน ที่มีผู้ป่วยอัมพาตที่นอนพักรักษาตัว หรือต้องบำบัดฟื้นฟูที่บ้าน ตลอดจนผู้ป่วยกลุ่มที่มีอาการใกล้เคียง ที่มีปัญหาทางด้านการสื่อสารด้านการพูด และเขียนปิยะศักดิ์ บอกอีกว่า ปัจจุบันยังไม่มีเทคโนโลยี หรืออุปกรณ์ช่วยในการสื่อสารในลักษณะเช่นนี้มาก่อนในเมืองไทย และอุปกรณ์ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน หากนำเข้าจากต่างประเทศ ก็จะมีราคาแพงมาก คือประมาณชุดละ 300,000 บาท และไม่มีซอฟต์แวร์ภาษาไทย ขณะที่ SenzE กำหนดราคาที่ถูกกว่าอุปกรณ์นำเข้าถึง 40%
และเป้าหมายอนาคตคือการขยายตลาดไปสู่ต่างประเทศ โดยเฉพาะ 10 ประเทศในอาเซียนหลังเปิดเออีซี.


รวม 7 ข่าวดังวิทยาศาสตร์


เผยผลสำรวจข่าวดัง 10 อันดับ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พบประชาชนนิยมเหตุการณ์ใกล้ตัวและกระทบการดำเนินชีวิตเป็นหลัก

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) ประกาศผลการจัดอันดับ 10 ข่าวดังวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปี 2556 เพื่อส่งเสริมความเข้าใจข่าวสารทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประชาชนทั่วไป โดย นายทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า การจัดอันดับ 10 ข่าวดังวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปี 2556 เป็นกิจกรรมที่ สวทช. และ วท. จัดขึ้นเพื่อสร้างความนิยมและส่งเสริมความเข้าใจข่าวสารทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสังคมไทย โดยในปีนี้ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภายใต้สังกัด วท. ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป โดยรวบรวมข่าวสารด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งในและต่างประเทศที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 ธ.ค.2555-15 พ.ย.2556

สำหรับผลการสำรวจในปีนี้ พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ให้ความสนใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใกล้ตัวและส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สิน ตลอดจนเหตุการณ์ที่เป็นกระแสความสนใจของคนสังคมในวงกว้าง อย่างไรก็ตาม ข่าวการค้นพบ "อนุภาคฮิกส์" โดยนักวิจัยฟิสิกส์ได้รับรางวัลโนเบล ซึ่งถือเป็นการค้นพบที่สำคัญในวงการวิทยาศาสตร์ระดับโลกไม่ได้รับการโหวตติดอันดับ 1 ใน 10 เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่าเป็นเรื่องที่ไกลตัว เข้าใจยาก และยังคงไม่มีผลกระทบใดๆ ต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของตน

ส่วนผลการสำรวจ 7 ข่าวดังวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประจำปี 2556 ได้แก่ 
1. น้ำมันรั่วและเทคโนโลยีการกำจัดคราบน้ำมันที่จังหวัดระยอง จากเหตุการณ์การรั่วไหลของน้ำมันดิบกลางทะเลใน จ.ระยอง ส่งผลให้น้ำทะเลและชายหาดถูกปกคลุมด้วยคราบน้ำมันเป็นบริเวณกว้าง กระทรวงวิทย์ฯ ได้นำเทคโนโลยีภาพจากดาวเทียมและข้อมูลกระแสน้ำจากสถานีเรดาร์ชายฝั่งตรวจวัดคลื่นและกระแสน้ำ เพื่อติดตามและคาดการณ์การเคลื่อนที่ของคราบน้ำมัน รวมถึงการเฝ้าติดตามข่าวการใช้เทคโนโลยีกำจัดคราบน้ำมันเพื่อฟื้นฟูทะเลและชายหาด
2. ข้าวสารรมข้าว และผลการตรวจสอบ กระแสข่าวข้าวที่ปนเปื้อนสารเมทิลโบรไมด์ และฟอสฟีน หรือทั่วไปเรียกว่าการรมยานั้น ได้สร้างความวิตกกังวลต่อคนไทยเป็นอย่างมาก ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ออกมาทำการตรวจสอบข้าว กระบวนการผลิต และสุ่มตัวอย่างข้าวที่ออกจำหน่ายให้กับผู้บริโภค พร้อมได้มีการออกมายืนยันว่าการรมควันมีความจำเป็นและเป็นที่ยอมรับตามมาตรฐานสากล

3. ระทึกอุกกาบาตตกที่รัสเซีย โดยเหตุอุกกาบาตตกในรัสเซียเกิดขึ้นเมื่อเวลาประมาณ 9.20 น. ตามเวลาท้องถิ่นของวันที่ 15 ก.พ.2556 นักวิทยาศาสตร์พบว่าอุกกาบาตดังกล่าวเป็นอุกกาบาตหินที่ประกอบไปด้วยแร่ chondrite และมีเหล็กผสมอยู่เล็กน้อยเพียง 10% ก่อนจะเข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลกมีมวลประมาณ 10,000 ตัน (เทียบเท่ารถยนต์เกือบ 8,000 คัน) ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่สุดที่ประมาณการไว้คือ 17 เมตร พุ่งเข้ามาด้วยความเร็วราว 30 กิโลเมตรต่อวินาที ความร้อนจากการเสียดสีอย่างรุนแรงกับอากาศทำให้อากาศขยายตัวออกอย่างรวดเร็ว และระเบิดกลายเป็นควันที่ปรากฏยาวถึง 20 กิโลเมตร


4. อาวุธเคมีซีเรีย ปลิดชีพ 1,300 ศพ การใช้อาวุธเคมีสังหารชาวซีเรียในเขตกูตา ใกล้กรุงดามัสกัส เมื่อวันที่ 21 ส.ค.2556 ทำให้มีผู้เสียชีวิตทันทีไม่ต่ำกว่า 1,300 ศพ และบาดเจ็บจำนวนมาก ล่าสุดคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ หรือ UNSC โดยสมาชิกทั้ง 15 ชาติ เห็นพ้องในการประชุมที่มหานครนิวยอร์กของสหรัฐฯ ในร่างเอกสารให้ประณามเหตุการณ์ดังกล่าวพร้อมกับออกคำสั่งเด็ดขาดให้รัฐบาลซีเรียทำลายอาวุธเคมีที่ครอบครองอยู่ทั้งหมดภายในกลางปี 2557
 
.

5. นวัตกรรมมูลค่าสูงจากข้าวและยางของไทย โดยกระทรวงวิทย์ฯ ชูนวัตกรรมปลายน้ำเพิ่มมูลค่าน้ำยางพารา เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนเกษตรกรไทยที่กำลังประสบปัญหาราคาตกต่ำ ด้วยการคิดค้นนวัตกรรม อาทิ "ล้อตัน" ประหยัดพลังงานที่ใช้ปริมาณน้ำยางมาก "เซรั่มและครีมหน้าขาวจากสารสกัดน้ำยางพารา" เป็นต้น และการสร้างนวัตกรรมข้าว ตั้งแต่ระบบการผลิตข้าว ที่มีวิธีหลากหลายในการจำกัดมอด อาทิ ใช้คลื่นวิทยุรมไนโตรเจนแทนสารเคมีเพื่อไม่ให้มีสารตกค้าง การแปรรูป เช่น น้ำมันรำข้าวออริซานอลสูง น้ำสลัดไร้ไขมัน เครื่องดื่มให้พลังงานจากข้าว เป็นต้น การแปรรูปเป็นยาและอาหารเสริม อย่างนมข้าวอะมิโน ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากข้าวหอมนิล รวมถึงการผลิตเป็นเครื่องสำอางอย่างแป้งพัฟจากแป้งข้าวเจ้า แป้งฝุ่นจากแป้งข้าวเจ้า หรือแม้กระทั่งครีมเคลือบเงาสำหรับอุปกรณ์ในรถยนต์ การสร้างนวัตกรรมข้าวโดยเฉพาะการแปรรูปเป็นเครื่องสำอางนั้นสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้อย่างมหาศาล ทั้งนี้ กระทรวงวิทย์ฯ ยังได้ริเริ่มจัดตั้ง ศูนย์ความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมข้าวไทย” (Rice Innovation Center of Excellence: RICE) ด้วย

6. มศว เปิดเครื่องรักษามะเร็งมูลค่า 60 ล้านบาท ใช้คลื่นความร้อนยิงผ่านผิวหนัง ไร้แผล ไม่ต้องผ่าตัด ขณะนี้ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ร่วมกับบริษัท เอสคูแลป คลินิก (เอเชีย) จำกัด ร่วมวิจัยพัฒนาและให้บริการ "เครื่องมือรักษาเนื้องอกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง" (High-Intensity Focused Ultrasound : HIFU) ซึ่งเครื่องนี้ได้ทำการติดตั้งที่ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อ.องครักษ์ จ.นครนายก เป็นเครื่องแรกของประเทศโดยการทำงานของเครื่องมีหลักการคล้ายกับการใช้แว่นขยายรวมแสงอาทิตย์ให้ตกอยู่ในตำแหน่งเดียวกัน (focus) ทำให้ความเข้มข้นของแสงสูง จนเกิดเป็นความร้อน ซึ่งแพทย์จะยิงคลื่นความร้อนนี้ผ่านผิวหนังไปยังเซลล์เนื้องอกหรือเซลล์มะเร็งโดยไม่ทำลายผิวหนังหรือเนื้อเยื่ออื่นๆ
 
7. ล้างพิษตับ เทรนด์สุขภาพใหม่-จริงหรือลวง เนื่องจากตับเป็นอวัยวะที่สำคัญ ทำหน้าที่หลายอย่างให้กับร่างกาย ทั้งในระบบย่อยอาหารและกำจัดพิษในร่างกายจึงเกิดกระแสการดูแลใส่ใจเรื่องสุขภาพที่ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วในขณะนี้ คือ การเข้าคอร์สล้างพิษตับ ด้วยโปรแกรมหรือหลักสูตรที่มีให้เลือกมากมาย อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้ยังไม่มีการค้นคว้าวิจัยอย่างจริงจังถึงผลดีและผลเสียของการล้างพิษตับแต่อย่างใด.

วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

โดย hypertext78 เมื่อ 09/01/2014 01:44



อุปกรณ์สวมใส่กำลังเป็นเทรนด์มาแรง ล่าสุด Intel เปิดตัว Jarvis (ชื่อคุ้นๆ นะว่ามั้ย) ที่จะเป็นหูเลขาอัจฉริยะส่วนตัว โดยเราสามารถออกคำสั่งด้วยเสียงได้ และหูฟังดังกล่าวจะตอบกลับมายังผู้ใช้งาน จะว่าไปก็เหมือนกับที่ Tony Stark คุยกับ Jarvis นั่นเอง


สำหรับตอนนี้ทาง Intel บอกว่าสามารถตอบผู้ใช้งานในเรื่องการจัดตารางนัดหมาย ปฏิทิน เช็คข้อความ และโน้ตกันลืมได้ โดยวิธีใช้ก็คือพูดว่า Hello Jarvis
งานนี้ชกที โดนทั้ง Google Now และ Apple Siri เลยทีเดียว (Google Now สามารถเรียกใช้งานได้ผ่านการเรียกว่า Hi Google, ส่วน Siri จะเป็นการตอบสนองผู้ใช้งานด้วยเสียง เช่นเดียวกับ Jarvis)

ที่มา: mxphone.net
การตรวจลำไส้เล็กด้วยวิธีการกลืนแคปซูล (Capsule Endoscopy)
"แคปซูลจิ๋ว...วิวัฒนาการใหม่ของการวินิจฉัยโรคทางเดินอาหาร"
ความรู้เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารและตับ
โดย ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ รพ.กรุงเทพภูเก็ต
การตรวจลำไส้เล็กด้วยวิธีการกลืนแคปซูลคืออะไร?
การตรวจลำไส้เล็กด้วยวิธีการกลืนแคปซูลเป็นนวัตกรรมล่าสุด ที่ใช้ในการวินิจฉัยโรคในระบบทางเดินอาหาร ด้วยการกลืนแคปซูลติดกล้องบันทึกภาพขนาดจิ๋ว เพื่อตรวจวินิจฉัยโรคทางเดินอาหาร กล้องชนิดนี้สามารถตรวจได้ถึงส่วนที่ลึกที่สุดของลำไส้เล็กในจุดที่การส่องกล้อง โดยทั่วไปเข้าไม่ถึงได้ผลการตรวจที่ละเอียด ถูกต้อง แม่นยำและมีประสิทธิภาพ เหมาะสำหรับการตรวจหาความผิดปกติ เช่น มีอาการปวดท้องอยู่บ่อยๆ หรือปวดแบบบิดๆ ตรวจหาสาเหตุของโรคเท่าไหร่ก็ตรวจไม่พบเสียทีว่ามีความผิดปกติที่ใด เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยเกิดความวิตกกังวลมากเกินไป โดยเฉพาะลำไส้เล็ก ซึ่งเป็นส่วนที่อยู่ลึกที่สุดยากต่อการตรวจหาโรค
แคปซูล หรือ แคปซูลเอ็นโดสโคป คืออะไร?
แคปซูล หรือ "แคปซูลเอ็นโดสโคป" เป็นวัสดุขนาดเล็กและเบา ซึ่งมีลักษณะปลายมนโค้งเป็นพลาสติกใส มีเลนส์ และตัวให้แสงสว่างในการถ่ายภาพ พร้อมด้วยตัวบันทึกภาพ โดยผู้เข้ารับการตรวจสามารถกลืนแคปซูลพร้อมน้ำ ได้อย่างสบาย ไม่ต้องเคี้ยว หลังจากนั้นแคปซูลจะเดินทางไปตามส่วนต่างๆ ของระบบทางเดินอาหารโดยเริ่มจากปากไปยังหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร (Stomach) ลำไส้เล็กตอนต้น (Duodenum) ลำไส้เล็กตอนกลาง (Jejunum)ลำไส้เล็กตอนปลาย (IIeum) ช่วงลิ้นเชื่อมต่อก่อนถึงลำไส้ใหญ่ (IIeo –cecal Valve) กระพุ้งแรกของลำไส้ใหญ่ (Cecum) และลำไส้ใหญ่ (Colon) ซึ่งจะบันทึกภาพระบบภายในและส่งสัญญาณต่อเนื่องเชื่อมเข้าเก็บบันทึกไว้ใน เครื่องบันทึกภาพ ทำให้แพทย์สามารถตรวจวินิจฉัยได้อย่างสะดวกแม่นยำ โดยในช่วงเวลา 8 ชั่วโมงระหว่างกลืนแคปซูลลงไปในท้องนั้น ผู้เข้ารับการตรวจสามารถที่จะเคลื่อนไหว หรือทำงานได้ตามปกติ และไม่มีความเจ็บปวด ก่อนที่แคปซูลจะถูกถ่ายออกมาพร้อมอุจจาระ และเมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนการวินิจฉัยนี้แล้ว แพทย์จะนำภาพและข้อมูลดังกล่าวไปวิเคราะห์ประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ (Rapid Workstation) เพื่อให้การรักษาคนไข้ได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ และถูกต้องตรงจุดสาเหตุของโรคต่อไป


ข้อบ่งชี้ในการตรวจ
  • ภาวะซีดหรือโลหิตจางโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือสงสัยว่าอาจจะเกิดจากลำไส้เล็กอาการท้องเสียเรื้อรัง
  • ปวดท้องโดยไม่ทราบสาเหตุสงสัยว่าจะมีเนื้องอกในลำไส้เล็ก
ขั้นตอนการตรวจ
  • ผู้เข้ารับการตรวจจะกลืนแคปซูลขนาด 24x11 มิลลิเมตร ที่มีกล้องขนาดจิ๋วติดอยู่พร้อมน้ำโดยไม่ต้องเคี้ยว
  • จากนั้นแคปซูลจะเดินทางไปตามส่วนต่างๆ ของระบบทางเดินอาหาร โดยอาศัยการบีบตัวของกระเพาะอาหารและลำไส้ พร้อมกับถ่ายภาพและส่งเป็นสัญญาณวิทยุมายังชุดรับสัญญาณที่ติดอยู่บริเวณหน้าท้องของผู้ป่วย
  • การตรวจวินิจฉัยด้วยการใช้กล้องแคปซูลจะใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 8 ชั่วโมง หลังการกลืนแคปซูลประมาณ 2 ชั่วโมง
  • ผู้เข้ารับการตรวจสามารถรับประทานของเหลว หรือขนมขบเคี้ยวได้บ้าง
  • ระหว่างการตรวจผู้เข้ารับการตรวจสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้ตามปกติ
การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจ
  • ก่อนการตรวจด้วยกล้องแคปซูล ผู้เข้ารับการตรวจต้องแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับยาที่ใช้ การแพ้ยา และโรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ให้แพทย์ทราบ รวมถึงหากเคยผ่าตัด เช่น ผ่าตัดหัวใจ ผ่าตัดหน้าท้อง เคยมีการอักเสบของลำไส้ ใส่ pacemaker
  • ผู้เข้ารับการตรวจต้องงดน้ำและอาหารก่อนกลืนแคปซูล 12 ชั่วโมง
  • ผู้เข้ารับการตรวจต้องรับประทานยาระบายก่อนการตรวจเพื่อเตรียมลำไส้ให้ว่าง
ข้อดีของการตรวจลำไส้เล็กด้วยวิธีการกลืนแคปซูล
ข้อดีของการตรวจลำไส้เล็กด้วยวิธีการกลืนแคปซูล
  • ผู้เข้ารับการตรวจไม่ต้องบอกซ้ำหรือเจ็บตัวจากการตรวจด้วยวิธีแบบเดิมๆ เช่น การกลืนแป้งเอกซเรย์
  • กล้องแคปซูลสามารถหารอยโรคภายในลำไส้เล็ก ในช่วงที่มีความยาวมาก และในจุดที่ลึกมากได้
  • ไม่ต้องใช้ยาสลบ
  • สามารถเห็นภาพสีสามมิติของลำไส้เล็กได้โดยไม่ต้องผ่าตัด
  • แพทย์สามารถวินิจฉัยอาการเจ็บป่วยได้อย่างแม่นยำ ทำให้สามารถเลือกใช้วิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุดได้
ข้อจำกัดและภาวะแทรกซ้อนของการตรวจลำไส้เล็กด้วยวิธีการกลืนแคปซูล
ภาวะลำไส้อุดตันจากการตีบแคบของลำไส้ ซึ่งเกิดได้จากการอักเสบของลำไส้ เคยผ่าตัดช่องท้องหรือก้อนเนื้องอก ซึ่งจะทำให้มีอาการท้องอืด ปวดท้อง และ/หรืออาเจียนขณะกลืนแคปซูล หากมีอาการดังกล่าวควรรีบแจ้งแพทย์ทันที

ที่มา: phukethospital.com/